มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย โดยคณะทำงานกำหนดราคาค่าก่อสร้างอาคาร ขอประกาศให้ทราบเกี่ยวกับราคาค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2538 โดยมีสาระสำคัญดังนี้:
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างอาคารลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสล่าสุดที่ผ่านมา โดยลดลง 1.31% ส่วนค่าวัสดุก่อสร้างที่ไม่รวมค่าแรงและค่าดำเนินการใด ๆ ลดลงถึง 2.3% ใน 1 ไตรมาสล่าสุด
ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้สรุปผลการจัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารล่าสุดโดยคณะทำงานของมูลนิธิที่มีนายสุรพงษ์ ตรีสุกล เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้ในการประเมินค่าทรัพย์สินสำหรับสถาบันการเงิน บริษัทประเมิน และผู้สนใจอื่น ๆ
โดยสรุปแล้ว ในรอบไตรมาสที่ 4/2558 (ตุลาคม-ธันวาคม) วัสดุก่อสร้างลดราคาลงมาถึง 2.3% โดยมีรายละเอียดดังนี้:
ดัชนีรวม | -2.3% |
ไม้ | 0.0% |
ซีเมนต์ | -2.8% |
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต | -0.9% |
เหล็ก | -6.3% |
กระเบื้อง | 0.0% |
วัสดุฉาบผิว | 0.0% |
สุขภัณฑ์ | 0.0% |
อุปกรณ์ไฟฟ้า | -1.3% |
วัสดุก่อสร้างอื่นๆ | -1.4% |
จะเห็นได้ว่าวัสดุประเภทเหล็กราคาลดลงต่ำสุดถึง 6.3% รองลงมาจึงเป็นซีเมนต์ 2.8% ส่วนที่ราคาเท่าเดิมได้แก่ ไม้ กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ ทั้งนี้ไม่มีวัสดุก่อสร้างรายการใดที่ราคาเพิ่มขึ้นเลย โดยรวมแล้วจึงลดลงไป 2.3%
สำหรับค่าก่อสร้าง ซึ่งมีทั้งค่าแรงและค่าดำเนินการต่าง ๆ นั้น ผลการศึกษาพบว่าราคาค่าก่อสร้างลดลง 1.31% โดยเฉลี่ย สำหรับค่าก่อสร้าง ณ เดือนธันวาคม 2558
ราคาค่าก่อสร้างจะส่งผลต่อราคาบ้านอย่างไรบ้าง หากสมมติกรณีนี้เป็นอาคารบ้านเดี่ยวหลังหนึ่ง ต้นทุนค่าก่อสร้างบ้าน จะเป็นประมาณ 1 ส่วน ส่วนต้นทุนที่ดินเป็น 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ดังนั้นหากต้นทุนค่าก่อสร้างลดลง 1.31% ส่วนต้นทุนที่ดินเพิ่มขึ้น 0.5% โดยประมาณ จึงทำให้ราคาบ้านไม่เปลี่ยนแปลง ตามรายละเอียดดังนี้
= {1 * (1-1.31%)} + {2 * (1 + 0.5%)}
= 2.9969 หรือราว ๆ 3.0 ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ดังนั้นราคาบ้านจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นในรอบ 1 ไตรมาสที่ผ่านมา อันที่จริงราคาค่าก่อสร้างอาคารเริ่มลดลงอย่างเด่นชัดตั้งแต่ต้นปี 2558 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาในปี 2559 ด้วย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่กระเตื้อง การก่อสร้างต่าง ๆ จึงมีน้อยกว่าแต่ก่อนนั่นเอง